พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7 ได้ทรงพระราชทานพระบรมราชานุมัติ ให้ใช้พระราชบัญญัติธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยามชั่วคราว พุทธศักราช 2475 เมื่อวันที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2475 และในวันที่ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2475 สภาผู้แทนราษฎรอันประกอบด้วย สมาชิกซึ่งคณะผู้รักษาพระนครฝ่ายทหารได้ตั้งขึ้น จำนวน 70 นาย ได้ประชุมกันเป็นครั้งแรก ณ พระที่นั่งอนันตสมาคม
โดยที่ธรรมนูญการปกครองแผ่นดิน มาตรา 33 บัญญัติว่า "ให้สภาเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้หนึ่งเป็นประธานกรรมการ และให้ผู้เป็นประธานนั้นเลือกสมาชิกในสภาอีก 14 นาย เพื่อเป็นกรรมการ การเลือกนี้เมื่อได้รับความเห็นชอบของสภาแล้ว ให้ถือว่าผู้ได้รับเลือกเป็นกรรมการของสภา"
ในการนี้ ได้มีสมาชิกเสนอให้มหาอำมาตย์โท พระยามโนปกรณ์นิติธาดา (ก้อน หุตะสิงห์) เป็นประธานคณะกรรมการราษฎร โดยสภาผู้แทนราษฎรเป็นผู้เลือก เมื่อวันที่ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2475 ประธานคณะกรรมการราษฎรได้เสนอชื่อคณะกรรมการราษฎรและสภาได้อนุมัติ เมื่อวันที่ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2475 ดังมีรายชื่อต่อไปนี้
คณะกรรมการราษฎรคณะนี้ ไม่มีการแถลงนโยบายการบริหารราชการแผ่นดินต่อสภา แต่ได้ถือเอา หลัก 6 ประการของคณะราษฎรที่ได้ให้สมาชิกสภาปฏิญาณตนต่อสภาก่อนเข้ารับหน้าที่นั้น เป็นนโยบายของรัฐบาล
คณะรัฐมนตรีคณะเริ่มแรกนี้สิ้นสุดเมื่อวันที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2475 เพราะมีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญฉบับถาวร
อ่านบทความฉบับสมบูรณ์ได้ที่ http://th.wikipedia.org/wiki/คณะรัฐมนตรีคณะที่_1_ของไทย